Tuesday, July 28, 2015

5-ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยก็เสื่อมลง พระมหากษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พระยาเลยไทย (รัชกาลที่ 4) และพระยางั่วนำถม (รัชกาลที่ 5) ไม่สามารถรักษาอาณาจักรให้คงสภาพเดิมได้ บรรดาหัวเมืองและอาณาจักรที่เคยอยู่ในอำนาจต่างพากันแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระ ในจำนวนนี้มีเมืองสำคัญคือ เมืองอู่ทอง ชุมชนไทยก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะก่อตั้งขึ้นในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนของประเทศในอดีต เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณหลายแห่ง ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี ฟูนัน ศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช เป็นต้น สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชนชาติมอญและขอม การก่อกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1780 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ทำสงครามขับไล่ชนชาติขอม รวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ซึ่งในบริเวณดินแดนใกล้เคียงดังกล่าว ก็ยังมีผู้นำคนไทยที่ตั้งตัวเป็นอาณาจักรอิสระอีกแห่งหนึ่ง คือ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 - 2310 ใน พ.ศ. 1890 ซึ่งเป็นปีที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัยนั้น เมืองอู่ทองเกิดภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน เกิดขาดแคลนน้ำ อหิวาตกโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก เจ้าเมืองอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทธสวรรย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน) ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่ริมหนองโสน (บึงพระราม) แล้วประกาศสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. 1893 และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กรุงศรีอยุธยาเป็นทำเลที่มีพื้นที่อันมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถือกันว่าเหมาะ คือ มีแม่น้ำ 3 สาย ไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรี ไหลจากทิศเหนือโอบอ้อมไปทางทิศ แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านทางทิศใต้ แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านทางทิศตะวันออก จึงทำให้ผืนแผ่นดินนี้มีลักษณะเป็นเกาะ เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร สะดวกแก่การคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศเพราะใกล้ทะเลเป็นชุมทางค้าขายที่สำคัญ ทั้งยังมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ มีแม่น้ำล้อมรอบ เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติได้อย่างดี ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตีหรือล้อมกรุงไว้ได้นาน เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะท่วมถึงบริเวณนี้โดยรอบอีกด้วย เขียนโดย ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ที่ 06:37

5-ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย


ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย

          เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  อาณาจักรสุโขทัยก็เสื่อมลง  พระมหากษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พระยาเลยไทย (รัชกาลที่ 4) และพระยางั่วนำถม (รัชกาลที่ 5) ไม่สามารถรักษาอาณาจักรให้คงสภาพเดิมได้ บรรดาหัวเมืองและอาณาจักรที่เคยอยู่ในอำนาจต่างพากันแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระ ในจำนวนนี้มีเมืองสำคัญคือ เมืองอู่ทอง

ชุมชนไทยก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

            อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะก่อตั้งขึ้นในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนของประเทศในอดีต เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณหลายแห่ง ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี  ฟูนัน ศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช เป็นต้น   สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชนชาติมอญและขอม
            การก่อกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1780 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ทำสงครามขับไล่ชนชาติขอม   รวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ซึ่งในบริเวณดินแดนใกล้เคียงดังกล่าว ก็ยังมีผู้นำคนไทยที่ตั้งตัวเป็นอาณาจักรอิสระอีกแห่งหนึ่ง คือ อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 - 2310

            ใน  พ.ศ.  1890   ซึ่งเป็นปีที่พระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัยนั้น  เมืองอู่ทองเกิดภัยธรรมชาติ  ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน  เกิดขาดแคลนน้ำ  อหิวาตกโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก  เจ้าเมืองอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทธสวรรย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน)  ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่ริมหนองโสน (บึงพระราม)  แล้วประกาศสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. 1893  และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (พระเจ้าอู่ทอง)   กรุงศรีอยุธยาเป็นทำเลที่มีพื้นที่อันมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถือกันว่าเหมาะ  คือ  มีแม่น้ำ  3  สาย  ไหลผ่าน  ได้แก่

แม่น้ำลพบุรี                ไหลจากทิศเหนือโอบอ้อมไปทางทิศ
แม่น้ำเจ้าพระยา         ไหลผ่านทางทิศใต้
แม่น้ำป่าสัก                ไหลผ่านทางทิศตะวันออก

           จึงทำให้ผืนแผ่นดินนี้มีลักษณะเป็นเกาะ  เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร  สะดวกแก่การคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศเพราะใกล้ทะเลเป็นชุมทางค้าขายที่สำคัญ  ทั้งยังมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์  มีแม่น้ำล้อมรอบ  เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติได้อย่างดี  ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตีหรือล้อมกรุงไว้ได้นาน  เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะท่วมถึงบริเวณนี้โดยรอบอีกด้วย

No comments:

Post a Comment